ขึ้นชื่อว่า “สินค้าคอมมูนิตี้” มักจะมีความผันผวนของราคาตามมา จนทำให้คาดการณ์ได้ยาก ซึ่งกลุ่มสินค้าเกษตร และอาหารประเภทเนื้อหมู – ไก่ – ปลาทูน่า และกุ้งแช่แข็ง ก็หนีไม่พ้นภาวะตลาดดังกล่าว แต่ที่น่าสนใจคือ ไทยมีผู้ประกอบการรายใหญ่อันดับโลกที่ถึงเวลาราคาหุ้นฟื้นตัว
กล่าวไม่เกินจริงหลังเผชิญปัจจัยลบกระทบราคาหุ้น และผลการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากช่วงโควิดกำลังซื้อชะงัก การส่งออกมีปัญหา พอสถานการณ์คลี่คลายกำลังซื้อกลับมาเผชิญปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ตามมาด้วยต้นทุนอาหารสัตว์พุ่งสูง และราคาขายที่ขยับได้ยากเป็นสินค้าควบคุม
ดังนั้นราคาหุ้นที่ผ่านมา ในกลุ่มนี้เป็นการฟื้นตัวแต่ผันผวนค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันแต่ละบริษัทรับปัจจัยลบกดดันราคาหุ้นมาต่อเนื่องจากผลประกอบการที่ออกมาในครึ่งปีแรก ซึ่งหากคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ความต้องการบริโภคอาหารโลกไม่ลดลง และแนวโน้มค่าเงินบาทอยู่ในโซนอ่อนค่าต้องหันมาน่าสนใจกลุ่มนี้เช่นกัน
กลุ่มที่น่าสนใจลงทุนเว็บหวยออนไลน์ เชื่อถือได้เพราะแต่ละบริษัทถือว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ และมีฐานโรงงานในต่างประเทศจำนวนมาก และถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่สามารถฟื้นตัวได้เร็ว รวมไปถึงปัจจัยใหม่ที่เข้ามาหนุนหลังจากไทยสามารถเปิดตลาดส่งออกเนื้อไก่ไปตะวันออกกลางได้ใหม่อีกครั้งในรอบ 30 ปี
ผ่านประเทศซาอุดีอาระเบีย และปัจจุบันซาอุดีอาระเบียนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่จากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ 6.5 แสนตัน โดย 70% เป็นการนำเข้าไก่สดทั้งตัว และ 30% เป็นการนำเข้าไก่ชำแหละ และไก่แปรรูป ผู้บริโภคซาอุดีอาระเบียมีอัตราการบริโภคเนื้อไก่ 45 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือทั้งประเทศที่ 1.5 ล้านตันต่อปี
ช่วงต้นปีผ่านมา ไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่ล็อตแรกไปยังซาอุดีอาระเบียประมาณ 600 ตัน มูลค่า 47 ล้านบาท และล่าสุดทางการซาอุดีอาระเบียอนุมัติ 11 โรงงานไก่ไทยส่งออกไก่สด-แปรรูป-ปรุงสุกได้ทุกชิ้นส่วน ทุกด่านทั่วประเทศ มีผลบังคับแล้วตั้งแต่ 11 ต.ค.2565
หุ้นกลุ่มนี้มีรายใหญ่ทั้ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF , บริษัท ไทยฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFG กลุ่มส่งออกไก่ และหมู ,บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) หรือ GFPT เน้นที่เนื้อไก่ และธุรกิจฟาร์ม
กลุ่มนี้เตรียมจะมีหุ้นน้องใหม่ และไซส์ใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ และสารเสริมสำหรับสัตว์ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์สุกร สัตว์ปีก และไข่ไก่ อาหารแปรรูปที่เกี่ยวข้อง และอาหารสัตว์เลี้ยง รวมถึงการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ฟาร์ม
โดยได้เสนอขายหุ้นจำนวนไม่เกิน 500 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 40 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) เท่ากับ 1.89 บาทต่อหุ้น และ P/E ประมาณ 21.2 เท่า มูลค่า 20,000 ล้านบาท เตรียมจะเข้าซื้อขายตลาดหุ้นวันแรก 2 พ.ย. นี้
เช็กแรงส่ง “หุ้นเกษตร – อาหาร” หนุนราคาหุ้น “ฟื้นตัว” ?
นอกจากนี้กลุ่มนี้มีบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU กลุ่มธุรกิจอาหารแปรรูปเพื่อส่งออกของไทยด้วยแบรนด์สินค้าในถึง 15 แบนด์ ซึ่งรู้จักกันดีในไทย เช่น ซีเล็คทูน่า ฟิชโช่ เป็นต้น มีการลงทุนในตลาดสหรัฐ ยุโรป และเอเชีย-แปซิฟิก
ที่เจอผลกระทบจากธุรกิจ Red Lobster ถือหุ้นใหญ่ 49% เผชิญผลขาดทุนทำให้รับรู้ในส่วนไปด้วยแต่มีการปรับการบริหารเพื่อให้กลับมามีกำไรปี 2566 ที่น่าสนใจกว่าคือ ธุรกิจอื่นโดยเฉพาะการดันธุรกิจอาหารสัตว์ผลิตจากส่วนเหลือทูน่า และมีมาร์จิ้นสูงตลาดเติบโต บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ITC เข้าไอพีโอในปีนี้ เป็นไฮไลท์สำหรับ TU
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า ให้น้ำหนัก “เท่ากับตลาด ” สำหรับกลุ่มอาหาร แต่ชอบกลุ่มฟาร์มสัตว์บกมากที่สุดในกลุ่ม เนื่องจากแนวโน้มผลประกอบการที่แข็งแกร่งใน ครึ่งปีหลัง 2565 (HoH และ YoY) และราคาหุ้นในกลุ่มปัจจุบันซื้อขายที่ ระดับ PER 2565 เพียง 13 เท่าต่ำกว่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 15 เท่า มองว่าอยู่ในระดับ Valuation ในโซนถูก
โดยปรับคำแนะนำ CPF 30.00 บาท ขึ้นจาก TRADING เป็น “ซื้อ” และเลือก GFPT ราคา 21.50 เป็น Top pick ของกลุ่ม เนื่องจาก Valuation ที่ถูกกว่ากลุ่ม และธุรกิจฟาร์มไก่ยังมี Upside ในปี 2566 จากตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง และจีนหากเปิดประเทศมากขึ้นจะเป็นบวกต่อภาพการส่งออกไก่ รวมถึง บริษัทอยู่ระหว่างการขยายโรงเชือดไก่เพื่อรองรับกำไรเติบโต คาดจะรับรู้ได้ใน ครึ่งปีหลัง 2566 เป็นต้นไป
ขณะที่ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ประเมินการเข้าซื้อขาย IPO ของ BTG ในวันที่ 2 พ.ย. คาดช่วยหนุน Sentiment การลงทุนของหุ้นกลุ่มอาหาร ที่คาดว่างบไตรมาส 3 ปี2565 จะออกมาดีทั้ง Sector อิง Consensus หุ้น BTG ที่ ระดับราคา IPO ที่ 40 บาทเทียบเท่า PER2566 ราว 9.7 เท่า ขณะที่ TFG ซื้อขาย ระดับ PER2566 ที่ 6.3 เท่า